ในช่วงปี 2023-2024 หลายๆคนอาจจะสังเกตว่าหนึ่งใน Sector ที่ถูกพูดถึงมากที่สุดคือ Interoperability ที่จะเข้ามาแก้ปัญหาและช่วยยกระดับการโอนเหรียญและข้อมูลข้ามเชน หรือแม้แต่ทำงานประสานกันระหว่างหลายบล็อคเชนได้ ซึ่งการแก้ปัญหาดังกล่าวมีความสำคัญมากเพราะในปัจจุบันมีบล็อคเชนเกิดขึ้นใหม่จำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น Layer 1, Layer 2 ตัวอย่างโปรเจกต์ที่เราเห็นกันบ่อยๆที่พัฒนาในด้านนี้เช่น LayerZero, Polkadot, Cosmos เป็นต้น ซึ่งแต่ละโปรเจกต์ก็มีแนวทางและเทคโนโลยีที่แตกต่างกันออกไป
โดย Analog ก็ถือเป็นหนึ่งโปรเจกต์ที่ทำเกี่ยวกับการสื่อสารระหว่างเชนใหม่อีกตัวที่น่าจับตามองอย่างมาก ซึ่งทางโปรเจกต์ก็กำลังมีกิจกรรม Incentivized Testnet ใน Phase 2 ให้ผู้ใช้งานที่สนใจสามารถไปเข้าร่วมเพื่อรับรางวัลเป็น Airdrop เหรียญ $ANLOG ได้ด้วย
ในบทความนี้เราจะพาไปรู้จักโปรเจกต์ Analog ถึงการทำงานในเบื้องต้น รวมถึงว่าเข้ามาแก้ปัญหาอะไรและมีความน่าสนใจและจุดเด่นอย่างไร พร้อมกับรายละเอียดการเข้าร่วมกิจกรรม Incentivized Testnet สำหรับคนที่สนใจกัน
หลังจากการเกิดขึ้นของ Smart Contract Blockchain อย่าง Ethereum ทำให้การใช้งานและเม็ดเงินต่างหลั่งไหลเข้ามาในโลกคริปโตฯมากขึ้น เช่น DeFi, NFT, GameFi รวมถึง Metaverse ที่เริ่มเชื่อมโยง Use Cases ต่างๆให้มีเข้าถึงกลุ่มคนทั่วไปได้มากขึ้น
แต่การใช้งานที่มากขึ้นบน Ethereum ก็ทำให้เกิดความหนาแน่นของธุรกรรม ทำให้เกิดการประมวงผลช้าและค่าธรรมเนียมสูง จึงเกิดบล็อคเชน Layer 1 ทางเลือกขึ้นมามากมาย รวมถึงในช่วงหลังก็เริ่มมีบล็อคเชน Layer 2 เกิดตามขึ้นมาอีก โดยแต่ละเชนก็มีจุดขายที่แตกต่างกัน เช่น มีทั้งเน้นไปที่ความเร็วเป็นหลักบ้าง เน้นการใช้งานด้านเกมส์หรือ NFT เป็นหลักบ้าง โดยในตอนนี้มีมากกว่า 380 เชนที่ลิสต์อยู่ในรายชื่ออย่างเป็นทางการบน Defillama แล้ว
ขอบคุณภาพจาก DeFillama (ข้อมูลวันที่ 16 พฤษภาคม 2024)
ซึ่งปัญหาที่ตามมาจากการมีบล็อคเชนจำนวนมากก็มีหลายอย่าง เช่น
Analog จัดเป็นบล็อคเชน Layer 0 ที่เป็น Infrastructure ที่ถูกพัฒนาขึ้นมารองรับหลายๆ Blockchain และ DApps ให้อยู่ร่วมกันและสามารถสื่อสารและส่งข้อมูลกันได้โดยตรง (Interoperability) โดยทาง Analog จะมี Software Tools ต่างๆเอาไว้รองรับสำหรับนักพัฒนาสามารถมาใช้งานเพื่อสร้าง DApps หรือบล็อคเชนได้แบบง่ายๆ ทำให้ DApps ที่พวกเขามาสร้างรองรับการทำความร่วมกับเชนอื่นๆได้ ไม่ว่าจะเป็น Layer 1 หรือ Layer 2 ก็ตาม
ซึ่งหลักการทำงานระหว่างเชนของ Analog ถูกเรียว่า General Message Passing Protocol (GMP) ที่นอกจากการสื่อสารปกติแล้ว ยังสามารถปรับใช้ได้กับ Cross-chain Application อื่นๆหลายอย่าง เช่น Cross-chain Decentralized Exchanges, Multichain Yield Aggregator, Crosschain Lending, Multi-chain NFTs เป็นต้น
ขอบคุณภาพจาก LEND Finance
ยกตัวอย่าง Cross-chain Application อย่าง Cross-chain Lending ด้วยวิธีการแบบดั้งเดิม ถ้าผู้ใช้งานมี Asset อยู่ที่เชน A แต่ว่าต้องการกู้เงินแล้วนำไปฟาร์มเพื่อหาผลตอบแทนบนเชน B ก็จะต้องมีหลายขั้นตอน โดยที่จะต้องวางสินทรัพย์ค้ำประกันไว้บนเชน A กู้เหรียญออกมาและทำการ Bridge asset ไปที่เชน B เพื่อนำไปฟาร์ม และเมื่อต้องการจะคืนเงินกู้ ก็จะต้องทำการ Bridge กลับจากเชน B มาที่เชน A อีกรอบเพื่อจ่ายคืนเงินกู้ ทำให้อาจจะไม่สะดวกเท่าไหร่ในแง่การใช้งาน ลองนึกภาพว่าถ้าราคาตกหนักๆแล้วต้องทำการคืนเงินแบบด่วน ก็อาจจะไม่ทันการได้ อย่างไรก็ตาม ถ้าใช้ Lending Protocol ที่สร้างบน Analog ผู้ใช้งานสามารถวางสินทรัพย์ค้ำประกันบนเชน A และเลือกกู้บนเชน B ตามที่ต้องการได้เลย ตัดขั้นตอนการ Bridge และค่า Fee ที่เกี่ยวข้องออกไปได้ทั้งหมด
ขอบคุณภาพจาก Analog
เทคโนโลยีหลักของ Analog มีชื่อว่า “Timechain” ที่สร้างบน Substrate SDK โดยมีหน้าที่เป็นศูนย์กลางการสื่อสาร (Hub) ของบล็อคเชนและ DApps ต่างๆที่เข้ามาเชื่อมต่อ เช่น การตรวจสอบความถูกต้องของธุรกรรม, บันทึกข้อมูลเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นต้น โดยจุดเด่นของ Timechain ก็คือทางโปรเจกต์จะเน้นความปลอดภัยสูงสุด เช่น การเลือกใช้ระบบ Consensus ที่เรียกว่า “Nominated Proof-of-Stake” ซึ่งก็คือการที่ผู้ถือเหรียญสามารถโหวตเลือก Validator ที่มีความน่าเชื่อถือในการเข้าไปทำหน้าที่ตรวจสอบธุรกรรมในระบบ Consensus ได้
นอกจากนี้ยังมีการใช้นวัตกรรมเฉพาะตัวที่เรียกว่า Ranking Score สำหรับการประเมิน Validator ในอนาคตเพื่อจูงใจให้ Validator ปฏิบัติตัวไม่ให้เกิดความเสียหาย
อีกจุดเด่นของ Timechain ที่ไม่พูดถึงไม่ได้ก็คือเป็น “Chain Agnostic” หมายถึงว่าสามารถทำงานกับบล็อคเชนอะไรก็ได้แบบไม่จำกัด ไม่ว่าจะเป็นบล็อคเชน EVM, Cosmos, Polkadot รวมถึง non-EVM อื่นๆ
ขอบคุณภาพจาก Analog
“Omnichain SDK” เป็นตัวช่วยให้กับนักพัฒนาในการสร้าง DApps ได้ง่ายขึ้นโดยไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์ในการพัฒนาเกี่ยวกับบล็อคเชนมาก่อน และยังมีระบบรองรับอัปเกรดของบล็อคเชนต่างๆที่นักพัฒนาเลือกไปเชื่อมต่อ ทำให้ไม่ต้องยุ่งยากมาอัปเกรดเอง
นอกจากนี้ยังมี “Analog Watch” ที่เข้ามาช่วยให้สามารถเข้าถึงข้อมูล Web3 Data จาก Multi-chain ได้สะดวก ซึ่งทำให้นักพัฒนาสามารถสร้าง DApps ได้รวดเร็ว มีราคาถูกและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ขอบคุณภาพจาก Analog
หลังจากการเปิดตัว Timechain ทาง Analog ได้มีการต่อยอดโดยการผลักดันให้เกิดการเติบโตภายใน Analog Ecosystem ด้วย “Analog Launch Partner Program” เพื่อสนับสนุนโปรเจกต์ที่จะมาเปิดตัวบน Analog ผ่านการให้ความรู้ด้านเทคนิคที่สำคัญต่างๆ
ซึ่งนอกจากการสนับสนุนด้านเทคนิคแล้วยังมี “Grant Program” ที่ออกแบบมาเพื่อให้ความสนับสนุนทางด้านเงินทุนสำหรับโปรเจกต์ที่มีศักยภาพ ไม่ว่าจะเป็นโปรเจกต์ที่สร้าง Infrastructure (Infrastructure Grants) หรือ DApps (Application Grants) โดยให้เงินทุนสูงสุดจำนวน 50,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อโปรเจกต์เลยทีเดียว ส่วนคอมมูนิตี้ที่มีส่วนร่วมกับโปรเจกต์ก็มีโอกาสได้รับในส่วนของ Community Grants ได้เช่นกัน เพราะ Analog ค่อนข้างให้ความสำคัญกับคอมมูนิตี้ ใครที่สนใจสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Analog Website
ขอบคุณภาพจาก Analog
หลังจากที่ Incentivized Testnet Phase 1 ได้ผ่านไป ทาง Analog ก็ได้ประกาศกิจกรรม Incentivized Testnet Phase 2 ต่อ โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้ใช้งานได้มาทดสอบประสิทธิภาพการทำงานของโปรเจกต์ในการแก้ปัญหาด้าน Interoperability โดยระหว่างกิจกรรม ผู้เข้าร่วมจะสะสมแต้ม Analog Token Points (ATPs) ซึ่งแต้มเหล่านี้จะถูกนำไปแลกเปลี่ยนเป็น Airdrop เหรียญ $ANLOG ในอนาคตได้ด้วย ซึ่งทางโปรเจกต์แจ้งว่าไม่ว่าใครก็สามารถเข้าร้วมกิจกรรมนี้ได้ ไม่ว่าจะเป็นนักพัฒนาหรือผู้ใช้งานทั่วไป โดยไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานด้านเทคนิคใดๆ
สำหรับรายละเอียดการเข้าร่วมกิจกรรมใน Phase 2 จะคล้ายกับ Phase 1 เลยคือสามารถติดตาม Quest ได้ทาง Website ของ Analog และไปเก็บ Badge บนเว็บไซต์ Galxe หลังจากทำกิจกรรมแต่ละ Quest จบแล้ว ในส่วนของ Quest ต่างๆนั้นก็ทำได้ไม่ยาก ก็จะมีทั้ง Social Task, Watch Game และ Surprise Task ที่ทางโปรเจกต์จะทยอยประกาศออกมาเป็นระยะๆ ตัวอย่างเช่น
ขอบคุณภาพจาก Analog
The Watch Game เป็นหัวใจหลักของ Incentivized Testnet Phase 2 โดยถือเป็นกิจกรรมที่ขับเคลื่อนโดยคอมมูนิตี้ ที่จะเป็นส่วนช่วยในการดึงดูดนักพัฒนาเข้ามาแสดงทักษะของตนโดยการสร้าง Views บน Analog Watch (เช่น Price Feed View) ในขณะเดียวกัน คอมมูนิตี้ก็สามารถโหวตให้กับ Views ที่ตัวเองชอบ ซึ่งสุดท้ายทั้งคอมมูนิตี้และนักพัฒนาที่ชนะการโหวตก็จะได้รับรางวัลแบบ Win-win
จุดประสงค์ของกิจกรรม The Watch Game ที่นอกจากทางโปรเจกต์จะต้องการสร้างสรรค์วิธีการที่สนุกและน่าสนใจในการเรียนรู้การใช้งานและศักยภาพของ Analog Watch ในการเข้าถึงข้อมูล Web3 ได้แบบง่ายๆแล้ว ทางโปรเจกต์ยังมองว่าเป็นหนึ่งในขั้นตอนสำคัญในการกำหนดรูปแบบในอนาคตของทางโปรเจกต์
Analog เป็นหนึ่งในโปรเจกต์ด้าน Interoperability ที่น่าจับตามองตัวหนึ่งเพราะมีนวัตกรรมเฉพาะตัวที่น่าสนใจ ด้วยหลักการ General Message Passing Protocol (GMP) ที่ทำให้การสื่อสารระหว่างเชนทำได้ในระดับ DApps เช่น Cross-chain Decentralized Exchanges, Crosschain Lending, Multi-chain NFTs เป็นต้น
นอกจากนี้ ทางโปรเจกต์ยังมุ่งเน้นการพัฒนา Software Tools ต่างๆเอาไว้รองรับสำหรับนักพัฒนาสามารถมาใช้งานเพื่อสร้าง DApps หรือบล็อคเชนได้แบบง่ายๆ รวมถึงถึงมีการสนับสนุนโปรเจกต์ต่างๆที่จะมาเปิดตัวบน Analog Ecosystem ไม่ว่าจะเป็นในด้านเทคนิคหรือด้านเงินทุน ทำให้มีโอกาสเติบโตได้สูงในอนาคต
ซึ่งทางโปรเจกต์ก็กำลังจัดกิจกรรม Incentivized Testnet ใน Phase 2 ให้ผู้ใช้งานหรือนักพัฒนาที่สนใจสามารถไปเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆเช่น Social Task, ทดลองใช้งาน Analog Watch, Cross-chain Tools ต่างๆและให้ Feedback ซึ่งนอกจากจะได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาโปรเจกต์แล้ว ยังจะได้รับรางวัลเป็น Airdrop เหรียญ $ANLOG ด้วย